ระบบบัญชี
Completed
การเปิดใบแจ้งหนี้ และการรับชำระ
บัญชีลูกหนี้
1
บัญชีลูกหนี้
เมนู บัญชี -> ลูกค้า
1.1 การเปิดใบแจ้งหนี้
ใบแจ้งหนี้ที่สร้างในระบบ สามารถสร้างได้จากใบสั่งขาย หรือกดสร้างเองได้จากเมนูใบแจ้งหนี้ เมื่อกดสร้างใหม่ หรือส่งต่อมาจากใบสั่งขาย สถานะจะเป็นแบบร่าง ระบบจะมีการลงบัญชีอัตโนมัติ โดยสามารถตั้งค่าเพิ่มเติมได้
ในส่วนของใบแจ้งหนี้มีการทำงานหลักๆดังนี้
- การสร้างใบแจ้งหนี้จากระบบบัญชี
- การตรวจสอบใบแจ้งหนี้จากใบสั่งขาย
- การยืนยันใบแจ้งหนี้และการพิมพ์เอกสาร
1.1.1 การสร้างใบแจ้งหนี้จากระบบบัญชี เมนู บัญชี -> ลูกค้า -> ใบแจ้งหนี้
เมื่อเข้ามาที่เมนูใบแจ้งหนี้ กดปุ่มใหม่ จะเปิดฟอร์มใบแจ้งหนี้ขึ้นมา
ทำการระบุลูกค้า วันที่ใบแจ้งหนี้ วันครบกำหนด เพิ่มรายการสินค้า จำนวน ราคา ภาษี ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
ระบบจะกำหนดสถานะเอกสารเป็นแบบร่าง เมื่อมีการสร้างใหม่
สามารถตรวจสอบการลงบัญชีสมุดรายวันได้จากแถบรายการบันทึก
1.1.2 การตรวจสอบใบแจ้งหนี้จากใบสั่งขาย
ที่หน้ารายการใบแจ้งหนี้ สามารถนำเลขใบสั่งขายมาค้นหาได้ เมื่อค้นหาจะแสดงรายการแจ้งหนี้
เมื่อกดเข้าไปที่รายการใบแจ้งหนี้จะแสดงรายการที่สร้างมาจากใบสั่งขาย
1.1.3 การยืนยันใบแจ้งหนี้และการพิมพ์แบบฟอร์ม
เมื่อเข้ามาที่ฟอร์มใบแจ้งหนี้ที่สถานะเป็นแบบร่าง หลังจากตรวจสอบรายการสินค้า การบันทึกรายการบัญชีเรียบร้อยแล้ว สามารถกดปุ่มยืนยัน เพื่อสร้างเลขที่เอกสาร และยืนยันการลงรายการบัญชี หลังจากยืนยันระบบจะเปลี่ยนสถานะเป็น Posted และสามารถพิมพ์เอกสาร ใบแจ้งหนี้ เอกสารสมุดรายวันได้
สถานะเอกสารเปลี่ยน
แบบฟอร์มที่สามารถพิมพ์ได้ มีใบแจ้งหนี้, สมุดรายวัน, Print Journal Entry (xlsx)
1.2 การเปิดใบลดหนี้ / เพิ่มหนี้
ที่หน้าฟอร์มใบแจ้งหนี้ สามารถกดปุ่ม ใบลดหนี้ เพื่อเปิดใบลดหนี้ได้
โดยสามารถระบุจำนวนการลดหนี้ได้ พร้อมเหตุผล
ระบบจะสร้างใบลดหนี้ให้พร้อมรายการสินค้าที่ลด สามารถแก้ไข จำนวน ราคา ให้ตรงกับที่ลดหนี้ได้
การเพิ่มหนี้ โดยกดปุ่ม ADD DEBIT NOTE เพื่อสร้างใบเพิ่มหนี้
สามารถระบุเหตุผลในการเพิ่มหนี้ วันที่เปิดได้จากหน้าจอที่แสดงขึ้นมา สามารถเลือกคัดลอกบรรทัดได้ถ้ากรณีสินค้าเป็นตัวเดียวกัน หรือถ้าเป็นการเพิ่มหนี้ด้วยสินค้าอื่นสามารถไม่ระบุคัดลอกบรรทัดได้
ระบบจะสร้างใบเพิ่มหนี้ให้ พร้อมรายการสินค้า สามารถระบุจำนวน ราคาสินค้าที่เพิ่มได้จากรายการ
1.3 การเปิดใบวางบิล เมนู บัญชี -> ลูกค้า -> ใบวางบิล
แสดงรายการใบวางบิลในระบบทั้งหมด เมื่อต้องการสร้างใหม่ กดปุ่ม ใหม่
เมื่อเลือกชื่อลูกค้า ระบบจะดึงข้อมูลใบแจ้งหนี้ที่ยังค้างชำระในระบบทั้งหมดของลูกค้ารายนั้น สามารถกำหนดวันที่ชำระได้ตามวันที่ใบแจ้งหนี้ หรือวันที่วางบิลทางขวามือ
เมื่อกดปุ่มตรวจสอบระบบจะสร้างเลขที่เอกสารใบวางบิล พร้อมเปลี่ยนสถานะเป็นวางบิลแล้ว
สถานะเอกสารเปลี่ยนเป็นวางบิลแล้ว ระบบจะแสดง Smart button จำนวนรายการใบแจ้งหนี้ที่เปิด
สามารถกดพิมพ์แบบฟอร์มได้ตรงปุ่มพิมพ์
1.4 การเปิดใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษี
ในการเปิดใบเสร็จรับเงิน / ใบกำกับภาษี สามารถเปิดได้ทั้งจากหน้ารายการใบแจ้งหนี้ หรือหน้าฟอร์มใบแจ้งหนี้ รายการใบเสร็จรับเงิน / ใบกำกับภาษีที่เปิดแล้วจะมาแสดงที่เมนู บัญชี -> ลูกค้า -> การชำระ
1.4.1 การเปิดใบเสร็จรับเงิน / ใบกำกับภาษี จากหน้ารายการใบแจ้งหนี้
เข้ามาที่หน้ารายการใบแจ้งหนี้ เลือกตัวกรองเป็นยังไม่ได้ชำระ หรือชำระบางส่วน เพื่อแสดงรายการแจ้งหนี้ที่ค้างชำระในระบบ
รายการแจ้งหนี้จะแสดงขึ้นมาตามตัวกรองที่ระบุไว้
สามารถเลือกใบแจ้งหนี้ที่จะไปเปิดใบเสร็จรับเงิน / ใบกำกับภาษาได้ โดยสามารถเลือกได้มากกว่า 1 รายการ เมื่อเลือกแล้ว กดปุ่มลงทะเบียนการชำระเงินด้านบน จะเข้าสู่หน้าจอการชำระ
หน้าจอชำระเงิน สามารถระบุสมุดรายวันรับชำระได้ วันที่ชำระเงิน จำนวนเงิน ในกรณีที่มีส่วนต่าง เช่น หัก ณ ที่จ่าย ระบบจะแสดงส่วนต่างด้านล่าง
ในกรณีที่ลูกค้าชำระเป็นเช็ครับ ให้ระบุวิธีการชำระเงินเป็น PDC และบันทึกเลขที่เช็ครับที่ช่อง Cheque Reference
หลังจากยืนยันการชำระเงิน ระบบจะเข้าสู่หน้าจอใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษี
1.4.2 การเปิดใบเสร็จรับเงิน / ใบกำกับภาษี จากหน้าฟอร์มใบแจ้งหนี้
ที่หน้าแบบฟอร์มใบแจ้งหนี้จะมีปุ่ม ลงทะเบียนการชำระเงิน
ในกรณีที่มีส่วนต่างการชำระเงิน เช่น หัก ณ ที่จ่าย ระบบจะดึงรายการส่วนต่างมาแสดงด้านล่าง และหักยอดที่ชำระออกไป เมื่อตรวจสอบยอดชำระเงินถูกต้อง สามารถกดปุ่มสร้างการชำระเงิน
หลังจากชำระเงินแล้ว เอกสารจะเปลี่ยนสถานะเป็นชำระแล้ว พร้อมแสดงรายการใบเสร็จรับเงิน
สามารถเลือกแบบฟอร์มการพิมพ์ใบกำกับภาษีได้จากปุ่มพิมพ์
ถ้าต้องการพิมพ์แบบฟอร์มสมุดรายวัน ให้กดที่ Smart button รายการสมุดรายวัน
จะสามารถพิมพ์แบบฟอร์ม สมุดรายวัน หรือ Print Journal Entry (xlsx) ได้
รายการที่เปิดใบเสร็จรับเงิน / ใบกำกับภาษีแล้ว สามารถดูได้จากเมนู บัญชี -> ลูกค้า -> การชำระ
There are no comments for now.